วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบการสัมมนา




รูปแบบการสัมมนา

         การสัมมนา มีรูปแบบและวิธีการปฏิบัติหลายรูป แต่ที่เป็นที่นิยมมี ดังนี้
         ๑. การอภิปรายแบบคณะ Panel Discussion
         ๒. การอภิปรายแบบซิมโพเซียม Symposium
            ๓. การอภิปรายแบบเสียงกระซิบ Buzz Discussion
         ๔. การอภิปรายแบบระดมสมอง Brain Storming
         ๕. การอภิปรายแบบฟอรัม Forum
         ๖. การอภิปรายแบบบทบาทสมมุติ Role Playing
         ๗. การอภิปรายแบบตอบกลับ Circular Response
         ๘. การอภิปรายแบบโต๊ะกลม Round Table[1]

๑. การอภิปรายแบบคณะPanel Discussion
             เทคนิคการสัมมนาแบบคณะเป็นการอภิปรายหัวข้อตามที่ได้กำหนดไว้ จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนประมาณ ๓-๘ คน โดยผู้อภิปรายแต่ละคน เสนอข้อมูล ความรู้  ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของตนเองแก่ผู้ฟัง การอภิปรายแบบคณะ มึวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้เข้าสัมมนา ได้รับความรู้ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาได้รับความรู้และประสบการณ์กว้างขวางยิ่งขึ้น ดังนั้นวิทยากรที่มาสัมมนาจึงจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งและดีเยี่ยม
        วิธีการดำเนินการอภิปราย 
         . พิธีกรดำเนินการการตามกำหนดการ โดยเชิญประธานเปิดการสัมมนา หลังจากนั้นพิธีกรแนะนำหัวข้อที่จะดำเนินการสัมมนาและผู้ร่วมดำเนินการอภิปรายทุกคน
         . เริ่มดำเนินการอภิปราย โดยเปิดโอกาสให้ผู้อภิปรายแสดงความคิดเห็นของตนอย่างอิสระ หลังจากนั้นพิธีกรอาจจัดช่วงเวลาสำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้อภิปรายด้วยกันเอง โดยพิธีกรเป็นผู้สรุปในแต่ละตอน
         . การจัดสถานที่การสัมมนา ควรจัดเวทียกพื้นและมีโต๊ะสำหรับการวางเอกสารและวัสดุต่าง ๆ ให้แก่ผู้อภิปรายโดยจัดเป็นลักษณะแถวเดี่ยวหรือรูปโค้งเล็กน้อย
๒. การอภิปรายแบบซิมโพเซียม Symposium
        การอภิปรายแบบนี้เหมาะกับการประชุมทางวิชาการ ซึ่งจะประกอบด้วยผู้เชียวชาญซึ่งอาจจะเป็นวิทยากรประมาณ ๒-๖ คน การอภิปรายแบบนี้จะมีลักษณะของความเป็นทางการค่อนข้างมาก ฉะนั้นผู้อภิปรายจึงต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดี ซึ่งผู้อภิปรายจะเตรียมความรู้ในส่วนของตนที่รับผิดชอบตอนใดตอนหนึ่งที่ตนได้รับมอบหมายซึ่งการบรรยายในการอภิปรายแบบนี้วิทยากรจะไม่ก้าวก่ายหรือซ้ำซ้อนกับ หัวข้อของวิทยากรท่านอื่น โดยวิทยากรแต่ละท่านต้องเสนอแนวคิดที่ตรงประเด็นเป้าหมายให้มากที่สุด โดยแต่ละท่านจะใช้เวลาประมาณ ๑๐-๑๕ นาที
         วิธีการดำเนินการอภิปราย
         . พิธีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย จากนั้นแนะนำหัวข้อที่บรรยายและแนะนำพิธีกรภูมิหลังของวิทยากรแต่ละท่าน
         . เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธานจะเป็นผู้เชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากร แต่ละท่านและสรุปบางตอนที่มีเนื้อหาประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานให้การบรรยายดำเนินไปตามหัวข้อ และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือพิธีกรอาจจะหาเลขานุการมาเพื่อช่วยในการเตรียมการและประสานงานด้านต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัว
         . การจัดที่นั่งสำหรับผู้บรรยาย  ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟังเพื่อให้ผู้ฟังมองเห็นผู้บรรยายอย่างชัดเจน
๓. การอภิปรายแบบเสียงกระซิบ Buzz Discussion
           การอภิปรายแบบนี้ผู้ที่นำมาใช้คนแรกคือ Mr.Donald  Phillips การอภิปรายแบบนี้เป็นลักษณะของการประชุมที่เปิดโอกาสให้สมาชิกซึ่งประกอบด้วย ประธานเลขานุการ และสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ได้แสดงความคิดเห็นในระยะเวลาสั้น ๆ  โดยแบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ ๕-๖ คน เพื่ออภิปรายปัญหาต่าง ๆ ที่ได้กำหนดขึ้นโดยแต่ละกลุ่มจะใช้เวลาในการอภิปรายประมาณ ๕-๖ นาที  สาเหตุที่กำหนดให้สมาชิกในกลุ่มมีจำนวนไม่มากเนื่องจากต้องการให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ไม่กระดากอายในการแสดงความคิดเห็น และปราศจากการวิจารณ์หรือตัดสินว่าความคิดนั้นถูกหรือผิด
         วิธีการดำเนินการอภิปราย
         . ผู้อภิปรายแนะนำหลักการในการประชุมกลุ่มย่อย การแบ่งกลุ่มและให้แต่ละกลุ่มนำหัวข้อไปพิจารณาอภิปรายและสรุปผลการอภิปราย
         สมาชิกของแต่ละกลุ่มเลือก ประธาน และเลขานุการ สำหรับการดำเนินการอภิปราย
         ประธานนำการอภิปรายในแต่ละกลุ่ม โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกของกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เลขานุการเป็นผู้บันทึกผลการอภิปราย
         ประธานหรือเลขานุการ หรือตัวแทนกลุ่มสรุป และนำความคิดหรือผลการอภิปรายของแต่ละกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ในช่วงของการเสนอผลการประชุม  
๔. การอภิปรายแบบระดมสมอง Brain Storming
             ผู้ที่นำวิธีการอภิปรายแบบระดมสมองมาใช้เป็นท่านแรก คือ Mr.Alex Osborn  การอภิปรายแบบนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายเกิดความคิดสร้างสรรค์ ฉะนั้นเมื่อถึงตอนการดำเนินการอภิปรายที่สำคัญ จะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนแสดงความคิดเห็น และมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมพลังสมองของแต่ละคนในการแก้ปัญหานั้น โดยปราศจากการสกัดกั้นทางความคิด  ใครจะแสดงความคิดเห็นก่อนหลังได้ตามโอกาส สำหรับในช่วงแรกของการสัมมนาจะไม่มีการวิเคราะห์  วิจารณ์ หรือตีความคิดเห็น หรือแม้แต่ข้อเสนอแนะของสมาชิกโดยเด็ดขาด แต่จะใช้เวลาช่วงหลังของการสัมมนาจะปล่อยให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและต้องทำอย่างทั่วถึงซึ่งจะใช้เวลานานพอสมควร  ซึ่งตลอดเวลาของการแสดงความคิดเห็นเลขานุการจะต้องบันทึกไว้ทั้งหมด โดยการบันทึกดังกล่าวสมาชิกทุกคนต้องเห็นร่วมกันและรับทราบร่วมกัน
         วิธีการดำเนินการอภิปราย
         . ประธานเสนอหัวข้อหรือปัญหาให้ที่ประชุมรับทราบ
         . ประธานอธิบายความมุ่งหมายและสาระสำคัญของหัวข้อประชุมให้สมาชิกทราบ และตลอดทั้งความคาดหวังที่จะได้รับรับจากการประชุม
         . กำหนดระยะเวลาในแสดงความคิดเห็นตามความเหมาะสม
         . เปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นอย่างมีอิสรเสรี
         . สรุปประเมินค่าความสำคัญข้อเสนอแนะ หรือความคิดเห็นในอันที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
         . สิ่งสำคัญประธานควรจัดและควบคุมให้จำนวนสมาชิกของกลุ่มมีจำนวนที่เหมาะสม คือประมาณ ๘-๒๐ คน
         . ในการจัดสถานที่สามารถจัดได้หลายรูปแบบแต่ควรจัดที่นั่งให้สามารถเอื้ออำนวยให้สมาชิกทุกคนมองเห็นหน้ากัน และได้ยินข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน
๕. การอภิปรายแบบฟอรัม Forum
           การอภิปรายแบบนี้ประกอบด้วยผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้อภิปราย ซึ่งผู้อภิปรายหรือผู้ที่ได้รับเชิญมาบรรยายในเรื่องนั้น ๆ จะประกอบด้วยผู้อภิปรายคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้ามีผู้อภิปรายคนเดียวเมื่อบรรยายจบก็จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามปัญหาได้ตามเวลาที่จัดไว้ การอภิปราย แบบ Forum เหมาะที่จะนำมาใช้ในการอภิปรายหรือเสนอแนะปัญหาของบ้านเมือง เช่น การประชุมระดับหมู่บ้าน ระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด หรือการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในทางการเมือง เราลองมาดูความหมายของคำว่า Forum
         . การอภิปรายแบบ Forum จะเป็นการที่ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการซักถามปัญหาหลังการอภิปราย หรือปาฐกถา ซึ่งรูปแบบของการจัดขึ้นอยู่กับชนิดของการประชุม เช่นการประชุมแบบ Panel  Forum ,Symposium Forum ฯลฯ
         . การอภิปรายที่ผู้ฟังมีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่เริ่มการประชุมเรียกว่า Open Froum การอภิปรายแบบนี้มีผู้อภิปรายเพียงคนเดียว เมื่อผู้บรรยายจบแล้วผู้ฟังจะตั้งคำถาม หรือแสดงความคิดเห็น เช่น การรายงานตัวของผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่กับผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
         . การอภิปราย ณ ที่สาธารณะที่จัดขึ้นเป็นประจำ เพื่อแก้ปัญหาส่วนรวม เช่น Commuity Forum หรือการรณรงค์หาเสียงของสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
        สรุป ว่าการประชุมสัมมนาแบบ Forum ควรมีผู้ดำเนินการอภิปรายที่มีความรู้ ความสามารถและเข้าใจถึงปัญหาอย่างลึกซึ้งเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างสูงสุด
๖. การอภิปรายแบบบทบาทสมมุติ Role Playing
               การอภิปรายแบบนี้ผู้ประชุมได้มีโอกาสแสดงบทบาทสมมุติ ตามสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเหมือนสภาพความเป็นจริง แต่จะเน้นลักษณะของปัญหาที่ต้องเผชิญและขบวนการแก้ปัญหาในลักษณะต่าง ๆ ส่วนโครงเรื่องนั้นผู้จัดประชุมจะเป็นผู้กำหนด แต่จะให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความรู้สึกออกมาตามบทบาทที่ได้สมมุติไว้ซึ่งการประชุมแบบนี้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ และยังเป็นการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ด้วย
         วิธีการดำเนินการ
                  . ประธานและเลขานุการต้องทราบและเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน โดยประธานและเลขานุการเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
           . ประธานจะเลือกผู้ที่จะแสดงในแต่ละบทบาทที่ได้รับการสมมุติขึ้น ซึ่งควรใช้วิธีการจับสลากและการเลือกตัวบุคคลไม่ควรบอกให้สมาชิกทราบล่วงหน้า  ซึ่งในการแสดงบทบาทสมมุตินี้ควรให้สมาชิกมีเวลาเตรียมตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
          ประธานควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงบทบาทของตนอย่างเต็มที่
          . ประธานจะดำเนินการอภิปรายหลังจากที่การแสดงจบ โดยการอภิปรายควรเน้นผลที่ได้รับจากการแสดงในแต่ละบทบาท 
๗. การอภิปรายแบบตอบกลับ Circular Response
        MR.LONDERMEN    เป็นผู้คิดค้นและเป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก  การประชุมแบบนี้ควรใช้กลับกลุ่มสมาชิกประมาณ ๘-๑๕ คน โดยจัดที่นั่งเป็นรูปวงกลม การประชุมจะเริ่มจากประธานกลุ่มเปิดการประชุม จากนั้นประธานจะเป็นผู้เสนอปัญหาเพื่อให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิกควรเรียงลำดับทีละคน  โดยเริ่มจากคนที่อยู่ทางด้านขวามือของประธานและเรียงไปตามลำดับ
         วิธีดำเนินการ
         . ประธานกล่าวเปิดการประชุมและเสนอปัญหาให้ที่ประชุมรับทราบและนำอภิปราย
          จากนั้นสมาชิกทางด้านขามือของประธานดำเนินการอภิปรายต่อเมือจบแล้วสมาชิกคนถัดไปอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของตน จากนั้นการอภิปรายจะดำเนินต่อเนื่องไปโดยเรียงไปทางขวามือตามลำดับจนครบโดยจะไม่มีการข้ามสมาชิกท่านใดท่านหนึ่งไป
         ถ้าในการอภิปรายในครั้งนั้นหัวข้อเรื่องประเด็นนั้น ๆ ยังหาข้อยุติไม่ได้หรือสมาชิกต้องการอภิปรายต่อที่ประชุมจะต้องเปิดเวียนการอภิปรายจนกว่าจะหาข้อมูลยุติ
          . ในการจัดรูปแบบการอภิปรายจะจัดแบบใดก็ได้ โดยเลขานุการควรนั่งทางซ้ายมือของประธาน และเลขานุการจะเป็นผู้จดบันทึก ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของสมาชิกทุกคน
๘. การอภิปรายแบบโต๊ะกลม Round Table
            การจัดอภิปรายแบบนี้เป็นการจัดให้สมาชิกทุกคนเห็นหน้ากันเป็นการประชุมที่ เป็นกันเองมากๆ ประธานจะทำหน้าที่ในการดำเนินการประชุม จะมีเลขาเป็นผู้จดบันทึกการประชุม ถ้าสมาชิกท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็น สามารถยกมือขึ้นขอพูดได้เลย การประชุมแบบนี้แตกต่างจากแบบตอบกลับคือสมาชิกไม่ต้องเรียงลำดับจากขวามือของประธานและการแสดงความคิดเห็นสามารถแสดงได้อย่างกว้างขวางและใช้เวลาตามที่สมาชิกต้องการ
         วิธีการดำเนินการ
        . ประธานกล่าวเปิดการประชุมเสนอปัญหา
         . เมื่อสมาชิกรับทราบปัญหาหรือหัวข้อของการอภิปรายแล้วถ้าท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นก็ให้ยกมือเพื่อขอพูดโดยไม่ต้องเรียงลำดับ
         . ถ้าหัวข้อเรื่องหรือประเด็นนั้นยังหาข้อยุติไม่ได้หรือสมาชิกต้องการอภิปราย ต่อที่ประชุมก็จะเปิดโอกาสให้อภิปรายต่อจนกว่าจะหาข้อยุติได้
       . สิ่งสำคัญประธานต้องกระตุ้นให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น และต้องช่วยสรุปข้อยุติให้ได้
       . สำหรับเลขาจะเป็นผู้บันทึกข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของสมาชิกทุกคนและสรุปผลการประชุมเพื่อนำเสนอต่อประธานและสมาชิกต่อไป


            [1]  อภิชยา นิเวศน์,  อ้างใน http://www.gotoknow.org/posts/155839 (บันทึก ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๗).




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น