วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปคำบรรยายของหลวงพ่อ พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม)



สรุปคำบรรยายของ
พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม)
 เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.​๒๕๕๖

๑.​ ประวัติความเป็นมาของวัดหนองป่าพง
            หลวงปู่ชา ย้ายมาอยู่ที่วัดหนองป่าพง เมื่อ เดือนมีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๗  โดยการอาราธนาของญาติพี่น้อง ตอนแรกมาอยู่ในที่สาธารณะของพวกญาติ พี่น้องก่อน ช่วงนั้น หลวงปู่ปฏิบัติศาสนกิจอยู่แถวจังหวัดสกลนคร และอำเภอเลิงนกทา ยโสธร เมื่อรับคำอาราธนาแล้วท่านให้ญาติพี่น้องกลับมาก่อนท่านตามมาทีหลังสถานที่วัด  หนองป่าพงเป็นบ้านร้างว่างเปล่าต่อมาโยมยอมรับนับถือแล้วจึงมอบเอกสารสิทธิ์ให้ และให้เพิ่มเติมในกาลต่อมา  ตอนแรกพื้นที่อยู่ในรูปของ น.ส. ๓ มีเนื้อที่ ๒๒๐ กว่าไร่  เห็นว่า น.ส. ๓ ไม่มั่นคง จึงออกโฉนดให้ ส่วนที่ดินที่ไม่มีโฉนด ประมาณ ๑๐๐ กว่าไร่

๒.​ กิจวัตรประจำวัน
            ในตอนแรก หลวงปู่ กำหนดกิจวัตร ให้สัญญาณระฆังตื่นทำวัตรเช้าตอนตีสาม ใช้เวลา ๒๕-๒๗ นาที ทำวัตรไม่แปล จากนั้นพานั่งสมาธิ อยู่เงียบ ๆ พอสว่าง ก็ให้ทำความสะอาด ก่อนจะออกบิณฑบาต
            ช่วงมาอยู่ใหม่ๆ หลวงปู่ใช้ร่มไม้เป็นที่อบรมพระเณร เพราะยังไม่มีศาลา

๓. วิธีสอน
            หลักกการสอนพระเณร หลวงปู่ ใช้คลองสิบสี่ ของชาวอีสาน หรือ วัตร ๑๔ ของพระ เป็นหลัก ใช้หนังสือ บุพพสิกขา ซึ่งคัดมาจากพระวินัยปิฎก ไม่มีวิธีพิเศษอะไร ใช้การปฏิบัติสอน คือ ปฏิบัติให้ดู อยู่ให้เห็น ทำให้ดูแล้วลูกศิษย์ก็จะนำไปปฏิบัติเอง  ส่วนคำบริกรรมภาวนา ใช้อานาปานสติ เป็นหลัก ให้หยุดก่อน คือ ให้ดูอารมณ์ปัจจุบัน 
            ลูกศิษย์ชาวต่างประเทศได้ยินกิตติศักดิ์แล้ว ก็มาดูก่อน ไม่ใช่เชื่อเลย เมื่อมาดูแล้วเขาเกิดความเลื่อมใส จึงยอมรับ หลวงปู่บอกว่า อาหารดี คนก็ซื้อเอง

๔. การรับสมาชิกหรือสัทธิวิหาริก
            ทั้งคนไทยและต่างประเทศจะให้มาเป็นนาค หรือบัณฑุบลาส ก่อน ๓ เดือน เพื่อให้แน่ใจก่อนว่าจะอยู่เป็นพระได้ ตลอด ถ้าอยู่ต่างประเทศให้เป็นนาค ๒ ปี

๕. รายได้ของวัด
            ได้จากญาติโยม และลูกศิษย์มาทอดผ้าป่าเป็นบางครั้งบางคราว แต่ไม่เป็นกอบเป็นกำ พออยู่ได้ ไม่ลำบาก

๖. การบริหารทรัพย์สินภายในวัด
            การบริหารภายในวัด จัดเป็นคณะกรรมการ เป็นฆราวาส ถ้าทางวัดจะก่อสร้างหรือซ่อมแซมเสนาสนะ ก็ไปสั่งวัสดุสิ่งของมาทำแล้ว เอาบิลค่าวัสดุไปมอบให้คณะกรรมการ จัดหาปัจจัยไปจ่ายให้

๗.​การปกครองพระภิกษุ สามเณรภายในวัด
            การปกครองพระภิกษุ สามเณรภายในวัด ใช้หลักอปริหานิยธรรม เป็นหลัก มีการประชุมกัน เป็นประจำ แต่ไม่ให้แสดงความคิดเห็นมาก เพราะจะกลายเป็นทิฏฐิ มานะ

๘. การบริหารสาขาต่างๆ
            จะมีการประชุมประจำปี ๆ ละ ๑ ครั้ง กำหนดเอาเดือนมิถุนายน ของทุกปี สมาชิกสาขาต่างๆ จากทั่วโลกจะมารวมกันเพื่อเป็นการพบปะกัน แต่ไม่มีการพูดถึงสวัสดิการ หรือ เรื่องการเงิน เพราะแต่ละสำนักก็เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีศูนย์ประสานงานที่รามอินทรา กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ติดต่อเกี่ยวกับเอกสาร การเผยแผ่ มีลูกศิษย์ฆราวาส เป็นกรรมการ บริหารดูแล

๙. การปฏิบัติธรรมเป็นอาจริยบูชา
            คณะลูกศิษย์ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะมารวมกันปฏิบัติธรรมบูชาหลวงปู่ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ๑๗ มกราคม ของทุกปี
. การเผยแผ่ในต่างประเทศ
            ที่ประเทศอังกฤษ เขาตั้งสมาคมชาวพุทธแฮมสเตท แต่ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่มีพระนำ ต่อมาลูกศิษย์ชาวต่างประเทศ คือ พระอาจารย์สุเมโธ นิมนต์หลวงปู่ไปเยี่ยม พ่อ แม่ ที่กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เวลากลับ ไปทางอังกฤษ จึงรู้จักกับสมาคมพุทธแฮมสเตท เขาจึงนิมนต์หลวงปู่ไปสอน เขาเห็นว่า หลวงปู่สอนเข้าใจดี ปีต่อมาจึงนิมนต์อีก หลวงปู่จึงมอบหมายให้ลูกศิษย์ไปอยู่ แต่การอยู่ในสถานที่นั้นไม่เป็นสัปปายะแก่การปฏิบัติเพราะอยู่ในเมือง ต่อมาคณะกรรมการสมาคม จึงขายที่ตรงนั้น แล้วไปซื้อบ้านเก่า ต่อมาจึงสร้างเป็นวัด ชื่อว่า วัดจิตตวิเวก ปัจจุบันมีพื้นที่ ๗๐ ไร่ มีนักเรียน นักศึกษา เข้ามาศึกษา เกี่ยวกับการทำบุญ รักษาศีล และการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน

. ประวัติของหลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม (พระราชภาวนาวิกรม) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
            เดิมหลวงพ่อเป็นชาวศรีสะเกษ มาอยู่กับหลวงปู่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒

. กิจวัตรประจำวัน ในปัจจุบัน
            ปกติทำวัตรเย็น สี่โมงเย็น ต่อมาเลื่อนมาเป็น ห้า ถึงหก โมงเย็น ไปจนถึง สาม สี่ทุ่ม ทำวัตรประมาณ ๔๐ นาที จากนั้นเอาวินัยมาอธิบายให้กันฟังใช้หนังสือ บุพพสิกขา เป็นหลัก
           
๑๓. ตอบคำถามของนิสิต
            นิสิตถามว่า ผมเคยได้ฟังเทศน์ของหลวงปู่ชา ท่านว่า ใช้ปัญญาอบรมจิต หมายความว่าอย่างไร
            หลวงพ่อตอบว่า ต้องมีสติ ถ้ามีสติ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของจิต จิตของเราเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
            นิสิตถามว่า ถ้าจิตคิดไปเรื่อยๆ จะต้องตามดูจิตตลอดไหม
            หลวงพ่อตอบว่า ไม่ต้องตามดูจิตตลอด เพราะนั่นคือเด็กน้อยเล่น ถ้ามันเล่นไม่มีอันตรายก็ปล่อยมัน ถ้ามันเล่นที่จะเป็นอันตราย ค่อยเอาสติควบคุมมันไว้  โดยเฉพาะมรณานุสสติ จึงจะเอาอยู่ อย่างอื่นเอาไม่ค่อยอยู่
            นิสิตถามว่า การเดินธุดงค์ทำอย่างไร บวชได้กี่พรรษาจึงให้ออกเดินธุดงค์
            หลวงพ่อตอบว่า การเดินธุดงค์ต้องมีจึดหมายจึงจะเกิดประโยชน์  คือวันหนึ่งจะเดินกี่ชั่วโมง เช่น กำหนดว่า จะเดินวันละ ๘ ชั่วโมง ก็ทำตามนั้น ถ้าทำตามใจ เหนื่อยก็หยุด อย่างนี้จะไม่ได้ผล
            นิสิตถามว่า   การภาวนาทำอย่างไร
            หลวงพ่อตอบว่า การภาวนาต้องมีอารมณ์ จะเอาความอยากมาเป็นตัวกำหนดก็ไม่ได้ เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ เรามีหน้าที่แค่ไหน ก็ทำตามนั้น เช่น ปลูกต้นไม้หน้าที่ของเรา คือ ขุดหลุม ใส่ปุ๋ย รดน้ำ และดูแลแมลง
            นิสิตถามว่า มีการฉันน้ำปานะไหม
            หลวงพ่อตอบว่า มี ส่วนมากฉันน้ำปานะ ใช้ปานะ  เป็นหลัก เครื่องดื่มอย่างอื่นไม่สรรเสริญ กาแฟมีบ้างแต่ไม่มาก เพราะทำให้ร่างกายเสียสมดุล







วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รายงานเดี๋ยว


สำนักวัดหนองป่าพง
๑. พระสุขี  สุมโน
๒. พระสุเทพ ปริชาโน
๓. พระถวัลย์ โชติโย
๔. พระนิติเทพ  เทวธมฺโม
๕. พระครูวิริยคุณสาร
๖. พระสมุห์โสภณ  นนฺทสาโร

๗. พระครูพิทักษ์ลัฏฐิวัน
๘. พระนิสิทธิ์  เตชพโล

๙. พระครูวิบูลโสตถิธรรม
๑๐. พระอธิการบุญหริด  เหมิโก
๑๑.​ พระจันทร์จรัส  ปญฺญาธโร
๑๒. พระบริสุทธิ์  ยนฺตสีโล
๑๓. พระไพรรินทร์  กมฺมสุทฺโธ
๑๔. พระณัฐพล  ทีฆายุโก
๑๕. พระครูศรีวุฒิเมธี
๑๖. พระอธิการสมเพท  ฐานิโย 
๑๗. เจ้าอธิการชู  อินฺทปญฺโญ
๑๘. พระจันทร์บอน  สุวณฺณธโร  Phra Chanborn  Va



สำนักวัดพระธรรมกาย

. พระครูพิทักษ์สิริสาร 
๒. พระมหาวีรพัตษ์  ฉินฺนาลโย
๓. พระมงคล  อคฺคธมฺโม
๔.​พระครูเกษมนันทสาร
๕. พระครูขันติธรรมสุนทร
๖. พระนิพนธ์  นิพฺพโล
๗. พระสารอน เรน   Phra Sarorn Ren
๘. พระชารี สุทฺธิรํสี
๙. พระปลัดณรงค์ศักดิ์  วิสุทฺธิเมธี 
 ๑๐. พระลิมอน  
๑๑.  พระโจเวล 



วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สนทนาภาษาบาลี ๒




สนทนาภาษาบาลี ๒

  ๑. วันนี้ เป็นวันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
       อชฺช รวิวาโร โหติ,
       อชฺช จ สาวนมาสสฺส ปญฺจวีสติมํ ทินํ โหติ,
 ตสฺส ภควโต อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปฏฺฐาย ฉปญฺญารสุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทวสํวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ.
๒. วันนี้เป็นแรม ๔ ค่ำ เดือน ๙
       อชฺช จ สาวนมาสสฺส  กาฬปกฺเข  จตุตฺถี โหติ.
๓. พวกเรากำลังเรียนภาษาบาลี
       มยํ ปาลิภาสํ สิกฺขาม.
๔. ผมชื่อพระนริสสระ
       อหํ นริสฺสโร นาม.
๕. พ่อผมชื่อนายสุขสันต์
       ปิตา เม สุขสนฺโต นาม .
๖. แม่ผมชื่อว่า นางจันทิมา
       มาตา เม จนฺทิมา นาม.
๗. ผมมีพี่น้อง ๓ คน พี่สาว ๑ คน น้องชาย ๒ คน
       มม ตโย สาโลหิตา ญาตกา อตฺถิ, ตตฺถ เอกา ภคินี โหติ เทฺว กนิฐา.
๘. พวกเขาสบายดี ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
       เตสํ สรีรปฺปวตฺติ สุปฺปวตฺตติ, นิรโรคา โหนฺติ.
๙. พ่อแม่ของผมเป็นชาวนา
       มาตาปิตโร เม กสิกา โหนฺติ.
๑๐. ท่านทั้งสองทำนาในนาของตนเอง
       เต จ เตสํ สนฺตเก เขตฺเต กสิกมฺมํ กโรนฺติ.


สนทนาภาษาบาลี




สนทนาภาษาบาลี

๑. วันนี้เป็นวันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
            อยํ ปน ทิวโส โสรวาโร โหติ.
       อยํ จ ทิวโส สาวนมาสสฺส สตฺตรสมํ ทินํ โหติ. 
       ตสฺส ภควโต อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปฏฺฐาย ฉปญฺญารสุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทวสํวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ.
๒. วันเสาร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙

๓. สวัสดีครับ พระอาจารย์
       โสตฺถยตฺถุ อาจริยสฺส.
       นมตฺถุ อาจริยสฺส.
            นโม เม อาจริยสฺส
       นมสฺสเต ภนฺเต
๔. อรุณสวัสดิ์ ครับ พระอาจารย์
       สุปภาตํ อาจริยสฺส
๕. เมื่อวาน คุณไปไหน
       หิยฺโย ตฺวํ กุหึ คโตสิ.
๖. ผมไปงานมงคล
       อหํ มงฺคลฏฺฐานํ คโตมฺหิ.
๗. วันนี้ เพราะเหตุไร คุณ จึงมาสาย
       กสฺมา อชฺช ตฺวํ จิรายตฺวา อาคโตสิ.
๘. ผมมาสาย เพราะเป็นวันพระ
       อหํ  ธมฺมสฺสวนทิวสภาเวน จิรายตฺวา อาคโตมฺหิ.
๙. ท่านอยู่วัดอะไร
       ตฺวํ กสฺมึ อาวาเส/อาราเม วสสิ.
๑๐. ผมอยู่วัดเทพนิมิตร
       อหํ  นิมิตฺตเทวาราเม วสามิ.
            อหํ สิริสุมงฺคลาราเม วสามิ.
๑๑. ท่านบวชได้กี่พรรษา
กิตฺตโก ตว อุปสมฺปทโต ปฏฺฐาย วสฺโส โหติ.
๑๒. ผมบวชได้ ๑๒ พรรษา
       อยํ  เม อุปสมฺปทโต ปฏฺฐาย ทฺวาทสโม วสฺโส โหติ.
๑๓. ท่านเกิดที่ไหน
       ตฺวํ กตฺถ  ชาโตสิ.
 ๑๔. ผมเกิดที่สกลนคร
       อหํ สกลนคเร ชาโตมฺหิ.
       อหํ กาฬสินฺธุสฺมึ นคเร  ชาโตมฺหิ.
       อหํ  มหาสารคาเม ชาโตมฺหิ.
            อหํ อุตฺตรธานิยํ ชาโตมฺหิ.
๑๕. ท่านมาอยู่ที่นี้นานเท่าไหร่
       ตฺวํ ตโต อาคนฺตฺวา อิธ กิตฺตกํ ปมาณํ กาลํ วสสิ.
๑๖. ผมมาอยู่ที่นี่สามปีแล้ว
       อหํ  ตโต อาคนฺตฺวา อิธ ติวสฺสิกํ  วสามิ.
๑๗. มารดาบิดาของท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ
       ชีวนฺติ เต มาตาปิตโร.
            กึ ตว มาตาปิตโร ชีวนฺติ.
๑๘. ครับ, มารดาบิดาของผม ยังมีชีวิตอยู่
       เอวํ, อาม, ชีวินฺติ เม มาตาปิตโร.
๑๙. ตอนนี้ท่านอยู่ที่ไหน
       อิทานิ เต กตฺถ วสนฺติ.
๒๐. ท่านอยู่ที่มหาสารคาม
       อิทานิ เต มหาสารคาเม วสนฺติ.
๒๑. ท่านสบายดีหรือ
       กถํ เต สรีรปฺปวตฺติ.
๒๒. ผมสบายดีครับ
            สุปฺปวตฺตติ เม สรีรปฺปวตฺติ.
๒๓. ท่านมาที่นี่เพื่ออะไร
       ตฺวํ กิมตฺถาย อิธาคโตสิ.
๒๔. ผมมาที่นี่เพื่อเรียนพระธรรมวินัย
       อหํ ธมฺมวินยํ อุคฺคณฺหิตุ อิธาคโตมฺหิ.
       อหํ ธมฺมวินยสฺส อุคฺคหนตฺถาย อิธาคโตมฺหิ. 


วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนะนำแนวทางการศึกษาวิเคราะห์พระไตรปิฎก


เรียน/เจริญพร นิสิตชั้นปริญญาโท ทุกรูป/คน


ขอแนะนำแนวทางการวิเคราะห์พระสูตรที่มอบหมายให้ทำรายงาน ดังนี้

ศึกษาวิเคราะห์เชิง

๑. นิเวศวิทยา
๒. สาธารณสุข
๓. นิเทศศาสตร์
๔.สังคมสงเคราะห์หรือสงเคราะห์สังคม
๕.ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา
๖. จิตวิทยา
๗. อักษรศาสตร์
๘. สังคมวิทยา
๙. เศรษฐศาสตร์
๑๐. ประวัติศาสตร์ รวมถึงพุทธประวัติ
๑๑. รัฐศาสตร์

ศึกษาเท่าที่ปรากฏในพระสูตรนั้น ๆ บางพระสูตรอาจจะมีหลายหัวข้อ หรือหัวข้อเดียวแล้วแต่กรณี